แร่สังกะสีและแคดเมียม

แร่สังกะสี


ที่พบมากที่สุดคือ แร่สฟาเลอไรด์( ZnS ) เมื่อนำมาถลุงแล้วจะอยู่ในรูปของของเหลวไม่บริสุทธิ์ ในประเทศไทยพบแร่สังกะสีในหลายจังหวัด เช่น ลำปาง แพร่ แต่สาหรับที่ตากเป็นแร่สังกะสีชนิดซิลิเกต คาร์บอเนตและออกไซด์ ซึ่งจะมีลำดับวิธีการถลุงแร่แตกต่างกันออกไป

                       




การถลุงสังกะสี
     เริ่มจาก การนำแร่เปียกมาบดจนละเอียดแล้วให้ทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริก เกิดเป็นสารประกอบ ZnSO4 ละลายอยู่ในสารละลาย ต่อจากนั้นปรับสภาพสารละลายให้เป็นกลางด้วยหินปูนหรือปูนขาวแล้วกรองเพื่อแยกกากแร่ออกจากสารละลาย กากแร่ที่กรองได้จะถูกปรับสภาพให้เป็นกลางด้วยปูนขาวแล้วส่งไปเก็บในบ่อเก็บกากแร่เพื่อนำไปถลุงแยกโลหะอื่นๆ


         ส่วน ZnSO4 ส่วนสารละลายที่ยังไม่บริสุทธิ์ เนื่องจากมีเกลือของโลหะละลายอยู่ จึงต้องกำจัดไอออนเหล่านี้ออกโดยการเติมผงสังกะสีลงไป เพื่อให้โลหะไปรีดิวซ์ Cd2+  Sb3+ และ  Cu2+   

ที่อยู่ในสารละลายเกิดเป็นโลหะ Cd Sb และ Cu ตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้


Zn(s) + CdSO4(aq)              ZnSO4(aq) + Cd(s)




3Zn (s) + Sb2(SO4)3(aq)           3ZnSO4 (aq) + 2Sb(s)


Zn(s)+ CuSO4(aq)                ZnSO4 (aq) + Cu(s)



โลหะ Cd Sb และ Cu จะถูกแยกออกจากสารละลาย ZnSO4ด้วยเครื่องกรองตะกอนแบบอัด ส่วนสารละลาย ZnSO4ที่แยกสารปนเปื้อนออกแล้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก จะถูกส่งไปยังโรงแยกสารด้วยกระแสไฟฟ้าต่อไป

แผนผังสรุปขั้นตอนและสารเคมีที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการถลุงสังกะสีจากแร่สฟาเลอไรต์




แผนผังสรุปขั้นตอนและสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการถลุงสังกะสีชนิดซิลิเกตและคาร์บอเนต





ปัจจุบันมีการใช้โลหะสังกะสีอย่างกว้างขวาง โดยใช้เป็นสารเคลือบเหล็กกล้า ใช้ผสมกับทองแดงเกิดเป็นทองเหลืองเพื่อใช้ขึ้นรูปหรือหล่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้สารประกอบออกไซด์ของสังกะสียังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยาง สี เซรามิกส์ ยา เครื่องสำอาง และอาหารสัตว์



แคดเมียม

คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 48 และสัญลักษณ์คือ Cd แคดเมียมเป็นโลหะทรานซิชั่นสีขาว-ฟ้า เป็นธาตุมีพิษ ในธรรมชาติพบอยู่ในแร่สังกะสี




คุณสมบัติทางกายภาพ
แคดเมียม เป็นโลหะหนัก มีสีขาว ฟ้า วาว มีลักษณะเนื้ออ่อน สามารถบิดโค้งงอได้และถูกตัดได้ง่ายด้วยมีด มักอยู่ในรูปแท่ง แผ่น เส้นลวด หรือเป็นผงเม็ดเล็กๆ ในอากาศที่มีความชื้นแคดเมียม จะถูกออกซิไดซ์ช้าๆ ให้แคดเมียมออกไซด์ ในธรรมชาติแคดเมียมมักจะอยู่รวมกับกำมะถันเป็นแคดเมียมซัลไฟด์ และ มักปนอยู่ในสินแร่สังกะสี ตะกั่ว หรือทองแดง




คุณสมบัติทางเคมี
สูตรเคมี Cd มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในกรดอินทรีย์ และกรดอนินทรีย์
การแยกโลหะแคดเมียมทำได้โดยนำกากตะกอนมาบดให้ละเอียดแล้วละลายในกรดซัลฟิวริก ทำสารละลายให้เป็นกลางด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต กรองเพื่อแยกตะกอนออกจากสารละลายแคดเมียม จากนั้นเติมผงสังกะสีลงในสารละลายจะได้แคดเมียมพรุนตกตะกอนออกมา กรองเพื่อแยกแคดเมียมพรุนที่ได้แล้วนำไปสกัดด้วยกรดซัลฟิวริกอีกครั้ง ต่อจากนั้นทำสารละลายให้เป็นกลางด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต กรองและนำสารละลายที่ได้ไปแยกด้วยกระแสไฟฟ้า จะได้โลหะแคดเมียมเกาะที่แคโทด แล้วจึงนาไปหลอมและหล่อให้เป็นแท่งต่อไป

-โลหะแคดเมียมใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิต เซลล์นิกเกิล-แคดเมียม ทาสีในอุตสาหกรรมพลาสติก เซรามิกส์ ทำโลหะผสม และใช้โลหะแคดเมียมเคลือบเหล็กกล้า ทองแดง และโลหะอื่นๆเพื่อป้องกันการผุกร่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น