แร่ดีบุก
แร่ดีบุกที่พบส่วนใหญ่ พบในรูปของ แร่แคสซิเทอร์ไรต์ (SnO2)
การถลุงแร่ดีบุก
- นำเอาแร่แคสซิเทอไรต์ (SnO2) ผสมกับถ่านโค๊ก และดินปูน ในอัตราส่วน 20:4:5 ใส่ในเตาเผาแบบนอน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นดังนี้
2C(s) + O2(g) --------> 2CO(g)
SnO2(s) + 2CO(g) --------> Sn(l) + 2CO2(g)
-แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้
-ในสินแร่ดีบุกจะมีสารประกอบบางชนิดเช่น SiO2 ปนอยู่จึงต้องกำจัดออกในขณะถลุง ซึ่งทำได้โดยให้ทำปฏิกิริยากับ CaO ที่ได้จากการสลายหินปูน จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแคลเซียมซิลิเกตดังนี้
CaCO 3 (s) ------------> CaO (s) + CO 2 (g)
CaO (s) + SiO2 (l) -----------> CaSiO3 (l)
คุณสมบัติของดีบุก
-ทนต่อการกัดกร่อน
- ไม่เป็นสนิม
-ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย
- ผสมเป็นเนื้อเดียวกับโลหะอื่นได้ดี
ประโยชน์ของดีบุก
- ใช้เคลือบโลหะ ทำภาชนะบรรจุอาหาร
-ทำโลหะผสม เช่น
*ดีบุก ผสม ทองแดง เป็น ทองสัมฤทธิ์/ทองบรอนซ์
*ดีบุก ผสม ทองแดงและพลวง เป็น โลหะพิวเตอร์
การถลุงแร่ดีบุก
- นำเอาแร่แคสซิเทอไรต์ (SnO2) ผสมกับถ่านโค๊ก และดินปูน ในอัตราส่วน 20:4:5 ใส่ในเตาเผาแบบนอน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นดังนี้
2C(s) + O2(g) --------> 2CO(g)
SnO2(s) + 2CO(g) --------> Sn(l) + 2CO2(g)
-ในสินแร่ดีบุกจะมีสารประกอบบางชนิดเช่น SiO2 ปนอยู่จึงต้องกำจัดออกในขณะถลุง ซึ่งทำได้โดยให้ทำปฏิกิริยากับ CaO ที่ได้จากการสลายหินปูน จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแคลเซียมซิลิเกตดังนี้
CaCO 3 (s) ------------> CaO (s) + CO 2 (g)
CaO (s) + SiO2 (l) -----------> CaSiO3 (l)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น